โลโก้เว็บไซต์ การพัฒนาและจัดทำหลักสูตรระยะสั้นร่วมกันระหว่างคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน | คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์

การพัฒนาและจัดทำหลักสูตรระยะสั้นร่วมกันระหว่างคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 23 มีนาคม 2565 โดย วีระพันธ์ บัวเขียว จำนวนผู้เข้าชม 1360 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2564 ได้มีการประชุมหารือโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ ได้ขอความร่วมมือกับคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในการดำเนินงานฝึกอบรมยกระดับฝีมือ หลักสูตรเกี่ยวกับนวัตกรรมปูนปั้นล้านนา ให้กับช่างปูนปั้น/ช่างศิลป์ ที่ไม่มีพื้นฐานและช่างปูนปั้นที่มีพื้นฐานแล้ว เพื่อยกระดับมาตรฐานฝีมือ ให้มีทักษะองค์ความรู้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมทั้งอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านประติมากรรมปูนปั้นโบราณ

 

ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ในการพัฒนาและจัดทำหลักสูตรระยะสั้นร่วมกันระหว่างคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กับสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 19 เชียงใหม่ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ชื่อหลักสูตรนวัตกรรมปูนปั้นล้านนา เพื่องานประดับเบื้องต้น (Fundamentals of Innovative Lanna Stucco for Decorations)

 

กรรมการร่างหลักสูตร

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พีระ จูน้อยสุวรรณ ​คณบดีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

2. รองศาสตราจารย์ ไพบูลย์ หล้าสมศรี รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยา พลวิฑูรย์ ​รองคณบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฐาปกรณ์ เครือระ ยา​อาจารย์ประจำกลุ่มพัฒนาสุขภาพ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

5. นางสาวธัญญารัตน์ ทองใจ อาจารย์ประจำหลักสูตรทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

6. นายสุวิน มักได้​ อาจารย์ประจำสาขาพุทธศิลปกรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดเจ็ดยอด

7. นายธีรพงษ์ จาตุมา อาจารย์ประจำสาขาพุทธศิลปกรรม วิทยาเขตเชียงใหม่ วัดเจ็ดยอด







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon