1. ประวัติคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีประวัติความเป็นมาโดยสังเขป ดังนี้
พ.ศ. 2505 เริ่มเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ใช้ชื่อ แผนกวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ ต่อมา พ.ศ. 2508 จึงเปลี่ยนชื่อเป็น แผนกวิชา ออกแบบผลิตภัณฑ์
พ.ศ. 2510 เปิดแผนกวิชาสถาปัตยกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
พ.ศ. 2515 เปิดแผนกวิชาศิลปกรรม ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกออกแบบผลิตภัณฑ์ ขยายหลักสูตรจากระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพเป็นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พร้อมกับแผนกวิชาสถาปัตยกรรมเปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พ.ศ. 2520 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ โอนเข้าสังกัดในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาพ.ศ. 2518 และได้ใช้ชื่อใหม่ว่าวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ โดยมี ความมุ่งหมายเพื่อขยายงาน อาชีวศึกษาให้สูงขึ้นถึงระดับปริญญาตรี
พ.ศ. 2523 แผนกวิชาศิลปกรรมเปิดสอน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พ.ศ. 2524 คุณหญิงดารา ไชยศสมบัติ ได้บริจาคที่ดินจำนวน 5 ไร่ ให้กับเขตพื้นที่ภาคพายัพ ณ บริเวณหลังวัดเจ็ดยอด และได้ซื้อเพิ่มอีก จำนวน 5 ไร่ รวมเป็นพื้นที่จำนวน 10 ไร่ เพื่อใช้ในการก่อสร้างสถานศึกษาตามเจตนาของเจ้าของที่ดิน
พ.ศ. 2526 แผนกวิชาศิลปกรรมและแผนกวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ย้ายมาอยู่ที่บริเวณข้างวัดเจ็ดยอด เรียกว่า วิทยาเขตเทคนิคภาคพายัพ (เจ็ดยอด)
พ.ศ. 2527 เปิดแผนกวิชาการพิมพ์ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสู
พ.ศ. 2528 แผนกวิชาการพิมพ์ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ เปลี่ยนชื่อแผนกวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นแผนกวิชาออกแบบ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2530 เปิดสอนวิชาเครื่องปั้นดินเผา ในแผนกวิชาอุตสาหกรรมเครื่องบั้นดินเผา
พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราช ทานนามวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา เป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล” เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 “วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตภาคพายัพ” จึงเปลี่ยนชื่อเป็น “สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เขตพื้นที่ภาคพายัพ”
พ.ศ. 2549 – ปัจจุบัน การปรับเปลี่ยนองค์กรตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยได้รวมเอาคณะวิชาเดิม 4 คณะ คือ คณะวิชา ออกแบบอุตสาหกรรม คณะวิชาศิลปกรรมคณะวิชาเทคโนโลยีสื่อสาร และคณะวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ก่อนการจัดตั้งเป็น คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะกรรมการโครงสร้างของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีการพิจารณา จะนำคณะศิลปกรรม ไปรวมเป็นคณะเดียวกับคณะบริหารธุรกิจ ทางคณะวิชาศิลปกรรมและคณะวิชาออก แบบอุตสาหกรรมเดิม ได้ส่งตัวแทนเข้าไปขอให้ทบทวนเรื่องนี้ และนำเสนอศักยภาพขององค์กร ในด้านบุคลากร งาน และโครงสร้างที่มีอยู่ว่าสามารถ ปรับขึ้นเป็นคณะที่เป็นเอกภาพได้ โดยใช้ชื่อว่า “คณะศิลปกรรม” ประกอบกับศาสตร์วิชาด้านศิลปกรรมกับบริหารธุรกิจไม่สามารถ หลอมรวมกันได้ ในระบบการศึกษาที่เป็นสากลก็ไม่มีปรากฏในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทางคณะกรรมการโครงสร้างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนาจึงเห็นชอบให้เป็นคณะศิลปกรรมและการออกแบบ และต่อมาทางคณะสถาปัตยกรรมเดิม ซึ่งขณะนั้น ในการปรับ คณะใหม่ได้เข้ารวมตัวอยู่ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงขอถอนตัวออกจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อเข้ามาอยู่ในคณะศิลปกรรม และปรับเปลี่ยนชื่อคณะใหม่โดยใช้ชื่อว่า “ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ” และได้จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2548 อาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 6 และมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พ.ศ. 2548 รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ ในราชกิจจนุเบกษา เล่ม 123 ตอนที่ 118 ก ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2549 ประกอบด้วยสาขาดังนี้
1. สาขาศิลปกรรม
2. สาขาการออกแบบ
3. สาขาเทคโนโลยีศิลป์
4. สาขาสถาปัตยกรรม
2. สีประจำคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
สีดำส้ม
สีดำ หมายถึง สีที่เป็นกลางที่สุด โดยทุกสีไม่มีอิทธิพลกับสีดำ
สีส้ม หมายถึง สีของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. สัญลักษณ์คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
4. ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย ของคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
ปรัชญา “สร้างสรรค์นวัตกรรมทางด้านศิลปกรรม การออกแบบและสถาปัตยกรรมด้วยภูมิปัญญาแห่งล้านนา”
วิสัยทัศน์ “เป็นคณะชั้นนำด้านการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ด้วยงานสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาล้านนา โดยบูรณาการผ่านเทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อสอดคล้องกับพลวัตทางสังคม”
พันธกิจ 1. ผลิตบัณฑิตที่มีจริยธรรม เป็นนักปฏิบัติการ มีความคิดสร้างสรรค์ เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีความเป็นเลิศในวิชาชีพ
2. พัฒนาคุณภาพผลงานสร้างสรรค์และงานวิจัย สู่ระดับชาติและนานาชาติ
3. พัฒนางานบริการวิชาการ ด้านศิลปกรรม การออกแบบและสถาปัตยกรรม ให้มีคุณภาพสอดคล้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน
4. อนุรักษ์งานศิลปะและวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม
5. พัฒนาระบบบริหารจัดการ ที่โปร่งใสและทันสมัย
เป้าหมาย 1. จัดการศึกษาในระดับปริญญา ทางด้านศิลปกรรม การออกแบบ และสถาปัตยกรรม ให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติ
2. ผลิตงานสร้างสรรค์ งานวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ ด้านศิลปกรรม การออกแบบ และสถาปัตยกรรม
3. บริการวิชาการแก่ชุมชน พัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืน ของสังคม
4. ศึกษา รวบรวม ส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งสิ่งแวดล้อม
5. สนับสนุนการบริหารงาน ภายใต้หลักธรรมาภิบาล โดยใช้ระบบสารสนเทศสนับสนุนการบริหารงาน
กลยุทธ์ 1. สร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการเข้ากับการทำงานในสถานประกอบการจริง (WIL) สู้ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้
2. สร้างระบบ กลไก งานสร้างสรรค์ และงานวิจัย โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนและบริการวิชาการ ให้มีคุณภาพ สนับสนุนให้เกิด ทรัพย์สินทางปัญญา
3. สร้างระบบ กลไก การบริการวิชาการโดยบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
4. ใช้ภูมิปัญญาล้านนา ขับเคลื่อนกิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม โดยบูรณาการกับการเรียนการสอน วิจัย และบริการวิชาการ การบริหารจัดการ
5. สร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) ในองค์กร เสริมสร้างภาวะผู้นำทุกระดับ
จุดแข็ง 1. บุคลากรมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพสูง มีความเป็นนักปฏิบัติสูง
2. จัดการศึกษาด้านศิลปบริสุทธ์ ด้านประยุกต์ศิลป์ ด้านสมถาปัตย์ โดยสามารถบูรณาการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อตอบการจัดการศึกษาได้ดี
3. จัดการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ
4. บัณฑิตมีความสามารถเป็นที่ต้องการของสังคม
5. ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง ประกอบอาชีพอิสระจำนวนมากเป็นฐานในการพัฒนา และการจัดการศึกษา
จุดอ่อน 1. บุคลากรมีคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการไม่ได้ตามเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา 2. จัดการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ที่เน้นวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี 3. บุคลากรส่วนใหญ่มีวัยวุฒิสูง ค่าตอบแทนสูง
โอกาส 1. คณะตั้งอยู่บนพื้นที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรมเป็นแหล่งผลิตหัตถกรรมอุตสาหกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญ
2. แผนยุทธศาสตร์ชาติ และจังหวัด มีความสอดคล้องกับการจัดการศึกษา ของคณะฯ
3. มีองค์กรจัดการศึกษา ที่เป็นพันธมิตรร่วมมือทางการศึกษาและกิจกรรม เป็นอย่างดี ทั้งภายในประเทศและนานาชาติ
อุปสรรค 1. คณะตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีสถาบันการศึกษาที่ชื่อเสียงและจัดการศึกษาเหมือนกันหลายแห่ง
2. การจัดสรรงบประมาณจากรัฐ และจัดหวัด มุ่งตรงมาที่มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมาก่อน
เป้าประสงค์การบริหาร
1. พัฒนาความเป็นเลิศบัณฑิตนักปฏิบัติ มีความสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือของการศึกษาค้นคว้า โดยการวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่ดี
2. พัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาชีพ มุ่งเน้นและผลักดันการสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งในส่วนของนักศึกษาและคณาจารย์ สนับสนุนทั้งในเชิง อนุรักษ์ที่ถูกต้องดีงามและการสร้างสรรค์เพื่อปัจจุบันและอนาคต
3. พัฒนาบุคลากรมุ่งกระตุ้นความรู้สึกผิดชอบชั่วดี จริยธรรมการมีวัฒนธรรมที่ดี ความมุ่งมั่นในการแสวงหา และสร้างสรรค์ในวิชาชีพของตน การมีจิตสำนึกสาธารณะ
4. ให้โอกาสทางการศึกษาแก่ผู้มีความบกพร่องทางร่างกายให้ได้ศึกษาตามศักยภาพ
5. พัฒนาหลักสูตร พัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาการเรียนการสอน พัฒนาวิธีคิด สอนให้มีเหตุผล
6. การพัฒนาความพร้อมทางกายภาพ ความสะอาดเรียบร้อย ระบบความปลอดภัย ระบบข่าวสารระบบประกาศ ส่วนศิลปะวิทยบริการ คือ ห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์กราฟิก
7. การพัฒนาระบบและการบริหารจัดการ มุ่งความร่วมมือมากกว่าการแข่งขันพร้อมเป็นที่พึ่งของสังคม
8. การประกันคุณภาพการศึกษา จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
นโยบาย 9 ด้าน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประกอบด้วย ดังนี้
1. นโยบายการพัฒนาด้านการจัดการศึกษา
2. นโยบายการพัฒนาด้านวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์
3. นโยบายการพัฒนาด้านการบริการวิชาการแก่สังคม
4. นโยบายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม
5. นโยบายการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
6. นโยบายการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7. นโยบายการบริหารจัดการสร้างสรรค์
8. นโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้และบริหารจัดการ
9. นโยบายการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งระดัยชาติและนานาชาติ
จากนโยบาย 9 ด้าน 59 ผลสัมฤทธิ์ ได้มีการนำมาหลอมรวม เพื่อดำเนินการตามพันธกิจ 5 ด้านในการจัดการศึกษา ของคณะศิลปกรรมศาสตร์ ดังนี้
1. ด้านการเรียนการสอน
2. ด้านวิจัย
3. ด้านบริการวิชาการ
4. ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5. ด้านการบริหารจัดการ
5. การแบ่งส่วนราชการของคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 และมาตรา 9 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พ.ศ. 2548 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกกฎกระทรวงไว้ โดยจัดตั้งคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนากระทรวงศึกษาธิการ (ราชกิจจานุเบกษา หน้า 18 เล่ม 123 ตอน 118 ก) ให้ไว้ ณ วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พ.ศ. 2550 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการออกประกาศไว้ ข้อ 7 ให้แบ่งส่วนราชการในคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นสำนักงานคณบดี ประกาศ ณ วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2550