โลโก้เว็บไซต์ ประชุมสรุปผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ “ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม” ประจำปีงบประมาณ 2559  | คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์

ประชุมสรุปผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ “ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม” ประจำปีงบประมาณ 2559

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 8 สิงหาคม 2559 โดย นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส จำนวนผู้เข้าชม 7052 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

       วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม 2559  นายภฤศพงศ์ เพชรบุล ผู้ช่วยอธิการบดีและผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานในการประชุมสรุปผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ “ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม” ประจำปีงบประมาณ 2559 โดยมีนายเกรียงไกร ธารพรศรี รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นผู้ดำเนินการรายงานผลการประเมิน พร้อมกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ท่านอุดม มณีขัติย์ รศ.สุทัศน์ จุลศรีไกรวัล รศ.ดร.อภิรักษ์ เพียรมงคล ดร.อรุณี ยศบุตร และ รวมถึงบุคลากรสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยมีการสรุปคะแนนประเมินผลความก้าวหน้า ทั้ง 11 โครงการ ประกอบด้วย

โครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องปีที่ 3  จำนวน 4 โครงการ ได้แก่

1. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี บ้านวอแก้ว หมู่ที่ 3 ตำบลวอแก้ว  อำเภอห้างฉัตร  จังหวัดลำปาง  ดำเนินงานโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง

2. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี บ้านคลองตาล ตำบลหนองแขม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ดำเนินงานโดย  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

3. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้าน อยู่ดี ตำบลวังจันทร์ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ดำเนินงานโดย  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

4. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี บ้านหาดผาขน ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ดำเนินงานโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน  

โครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องปีที่ 2  จำนวน 5 โครงการ ได้แก่

1. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านหลวง หมู่ที่  6  ตำบลโหล่งขอด  อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

2. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม และตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ณ หมู่บ้านแม่แพง ตำบลแม่ปั๋ง อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

3. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านแม่กาษา หมู่ที่ 2 ตำบลแม่กาษา  อำเภอแม่สอด  จังหวัดตาก ดำเนินงานโดย กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

4. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม และตรวจเยี่ยมพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ณ บ้านขามสุ่มเวียง หมู่ที่ 2 ตำบลเวียง อำเภอพร้าว  จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

5. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี หมู่บ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ดำเนินงานโดย สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โครงการที่ดำเนินงานเป็นปีแรก จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี บ้านแม่สายป่าเมี่ยง  หมู่ที่ 7 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

2. โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน ชุมชน แบบมีส่วนร่วม กรณี บ้านท่าดีหมีหมู่ 18 ตำบลเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย  ดำเนินงานโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย


ทั้งนี้จะมีการจัดทำรายงานสรุปผลการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ “ยกระดับคุณภาพชีวิตของหมู่บ้าน/ชุมชนแบบมีส่วนร่วม” ประจำปีงบประมาณ 2559 ส่งไปยังหน่วยงานต้นสังกัด และผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป


เรื่อง : นางสาวหนึ่งฤทัย แสงใส

ภาพ : นายจักรรินทร์ ชื่นสมบัติ








ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon