โลโก้เว็บไซต์ วาดฝันปันสุข ศิลปะร่วมสมัยเพื่อคนพิการ | คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์

วาดฝันปันสุข ศิลปะร่วมสมัยเพื่อคนพิการ

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 24 สิงหาคม 2564 โดย สิริญญา ณ นคร จำนวนผู้เข้าชม 1894 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

คณบดีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ จัดโครงการ “วาดฝันปันสุข ศิลปะร่วมสมัยเพื่อคนพิการ” ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม โดยได้รับเกียรติ จาก ผศ.ดร.พีระ จูน้อยสุวรรณ คณบดีคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ นางพวงทอง ศรีวิลัย ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ ผู้อำนวยการ ให้การกล่าวต้อนรับและกล่าวขอบคุณ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564

ผศ.วิทยา ผลวิฑูรย์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า “โครงการวาดฝันปันสุข ศิลปะร่วมสมัยเพื่อคนพิการ” เป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุน การสร้างกิจกรรมทางด้านศิลปะ ฝึกทักษะการสร้างสรรค์ และฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยมีอาจารย์ในสถาบันการศึกษา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 5 ท่าน คือ รศ.ลิปิกร มาแก้ว, ผศ.วิทยา พลวิฑูรย์, ผศ.ถาวร ฝั้นชมภู, ผศ.ไกรสร วิชัยกุล, อาจารย์เนติ พิเคราะห์ และศิลปินอิสระ (ศิษย์เก่า) 2 ท่าน คือ นายบัณลือฤทธิ์ กันทะวงค์ และนายอัษฎาวุฒิ คำอ้าย เข้ามามีส่วนร่วม ในลักษณะการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการทางศิลปะ ระหว่างอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา กับนักเรียนที่มีความพบพร่องทางร่างกาย จำนวน 15 คน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ Microsoft Teams ในวันที่ 19, 20 และ 23 สิงหาคม 2564  โดยนักเรียนได้ผลงานศิลปะ จำนวน 48 ผลงาน (ต้นแบบโปสการ์ด 24 ต้นแบบและภาพผลงานศิลปะ 24 ต้นแบบ) โดยผลงานทั้งหมดจะเผยแพร่สู่สาธารณชน และนำเสนอผลงานศิลปะทางออนไลน์ ผ่านสื่อดิจิทัลต่างๆ และเพื่อให้เกิดสุนทรียภาพและความสุขขึ้นในจิตใจทั้งทางร่างกายและทางจิตใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือการเคลื่อนไหว หรือสุขภาพ ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพทักษะทางสังคม และมีแนวทางการประกอบอาชีพได้ ทางผู้จัด จะดำเนินการมอบให้กับโรงเรียนศรีสังวาลย์เชียงใหม่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักเรียน และเป็นทุนความคิดสู่การต่อยอดการศึกษาต่อไป







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา